Wednesday, August 19, 2015

มองศาสนาอย่างเป็นวิทยาศาสจตร์ ตอนจบ

11.ศาสนาแห่งกลียุค     

ภัยระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์นั้นน่าจะเกิดจากความเหลื่อมล้ำในความอุดมสม บูรณ์ของธรรมชาติ   ซึ่งเป็นเหตุให้ชุมชนหนึ่งที่ขาดแคลนให้มีจิตใจแข็งกล้าขึ้นมา      และเข้าต่อกรกับชุมชนที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันสมบูรณ์  ทั้งนี้เพื่อช่วงชิงเป็นเจ้าของสิ่งแวดล้อมนั้น   เราไม่อาจกล่าวเรื่องนี้ได้มากนักเพราะยังไม่มีข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์สำหรับนำมาอ้างอิงอย่างเพียงพอ    แต่ข้ออ้างของประเทศฝ่ายรุกรานก่อนนั้นล้วนเป็นการกล่าวอ้างเพื่อผลประโยชน์ของตนทั้งสิ้น

เมื่อชุมชนเข้าโจมตีกันก็ย่อมมีผู้แพ้และผู้ชนะผู้แพ้ย่อมตกเป็นเชลยและทาส      เพราะเหตุนี้จึงเป็นสา เหตุหนึ่งของการเกิดระบบทาสขึ้นในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ และได้อยู่ยืนยาวมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน(เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบในการกดขี่บังคับให้ซับซ้อนขึ้น..)     เมื่อรบชนะชีวิตทาสย่อมตกอยู่ในมือของผู้ชนะผู้ชนะย่อมมีสิทธิ์เหนือชีวิตทาสไปในตัวมิหนำซ้ำยังถือเอาลูกหลานของทาสเป็นทาสตามไปด้วยและสามารถซื้อขายทาสประดุจสัตว์เลี้ยง     เจ้าทาสใช้งานทาสหนักมากแต่ให้อาหารพอแค่ประทังชีวิตเท่านั้น   ในกรณีเช่นนี้พวกทาสจึงมีความคิดที่จะหลีกให้พ้นจากสภาวะทาสโดยคิดหาทางต่อต้านเจ้าทาส  การกระทำเช่นนี้ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ๆและศาสนาใหม่ๆขึ้น

ในขณะที่เจ้าทาสมีชีสิตด้วยความสมบูรณ์พูนสุขเพราะมีทาสคอยรับใช้และผลิตของกินของใช้ให้อย่างเหลือเฟือ   ประกอบกับได้มีศาสนาที่ติดต่อกับ”เบื้องบน” อยู่แล้ว  พวกเจ้าทาสจึงเสาะแสวงหาความไม่ตายหรืออมฤตภาพ(Immortality)     จะเห็นว่าศาสนาต่างๆนั้นในชั้นแรกย่อมเกิดจากความต้องการ ของมหาชนเพื่อผลประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดก่อน      ต่อมาชนส่วนน้อยที่เป็นเจ้าทาสในสังคมทาส  ได้นำเอาศาสนามาประกอบกับความปรารถนาของตนเพื่อจะได้มีชีวิตตลอดไป   อีกด้านหนึ่งก็ได้นำมาเป็นประโยชน์ในการปกครองทาสด้วย  เพราะเมื่อสอนให้เชื่อได้ทั่วหน้ากันว่าเทพเจ้าที่อยู่เหนือมนุษย์ นั้นมีอยู่จริง     การยอมรับว่ามนุษย์ด้วยกันเองก็อยู่เหนือกันได้ย่อมเกิดขึ้น    ทั้งนี้จึงทำให้บรรดาทาสยอมรับอำนาจปกครองของพวกเจ้าทาสโดยดุษฎี          ด้วยประการฉะนี้เองพวกเจ้าทาสจึงเทิดทูนศาสนาแห่งเทพเจ้าเป็นอันมาก   เนื่องจากมีแรงงานถูกๆคล้ายแรงงานสัตว์อยู่ในกำมือ      พวกนายทาสจึงได้จัดสร้างเทวะสถาน ปราสาทราชวัง ด้วยถาวรวัตถุขึ้นอย่างมโหฬาร    สิ่งเหล่านี้ยังคงเหลือให้เห็นมาถึงปัจจุบัน     นับว่าระบบทาสในสมัยนั้นได้เอื้ออำนวยผลประโยชน์ให้แก่เจ้าทาสเป็นอย่างมาก    เพราะมันได้สร้างอารยะธรรมและวิทยาการต่างๆให้แก่โลกด้วย

ในประวัติศาสตร์ชั้นต้นๆของอินเดียนั้นชนเผ่าอารยันได้รุกเข้ามาในอินเดียตอนเหนือและได้ลดฐานะของพวกมิลักขะหรือดราวิเดีลงเป็นทาส    ในยุโรป..ชนชาติกรีกและโรมันได้ให้กำเนิดระบบทาสขึ้นนับว่าการกำเนิดของระบบทาสนี้เป็นไปตามการพัฒนาของสังคม   บางแห่งพวกทาสได้รวมกำลังกันเข้าต่อสู้กับเจ้าทาส    ในการนี้ศาสนาเก่าได้ไปเข้ากับฝ่ายเจ้าทาสจึงได้เกิดศาสนาใหม่ขึ้น...ศาสนาที่สนับสนุนการรวมตัวกันของทาส      เมื่อเห็นว่าศาสนาที่นับถือเทพเจ้าหลายองค์ทำให้คนไม่สามัคคีกันและรวมกันไม่ติ   ศาสดาในยุคใหม่จึงสอนศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียวซึ่งถือว่ามีความจะเป็น  และในขณะนั้นระบบที่ปกครองด้วยกษัตริย์ได้เกิดขึ้นบ้างแล้ว  ได้เกิดวรรณะนักรบขึ้นคือพวกกษัตริย์และชนชั้นปกครอง   และคนพวกนี้ได้ดำเนินการปกครองโดยใช้อำนาจผ่านกษัตริย์เพียงองค์เดียว   ทำให้พวกเจ้าทาสสามารถผนึกกำลังให้เป็นหนึ่งเดียวได้       ดังนั้นผู้นำของพวกทาสจึงใช้วิธีเดียวกันในการรวมกำลังกันเข้าต่อสู้   เนื่องจากทาสเป็นชนที่ร่วมวรรณะเดียวกัน  การสอนเรื่องพระเป็นเจ้าองค์เดียวจึงมีความจำเป็น

เราไม่ทราบแน่ชัดถึงต้นกำเนิดของลัทธิพรหมในอินเดีย     แต่เราทราบภายหลังการพิชิตอินเดียของพวกอารยันแล้ว    ชนเผ่ามิลักขะที่ถูกลดฐานะลงเป็นวรรณะที่ต่ำกว่ามีความคิดขัดแย้งกับพวกอารยัน   คำสอนเรื่องพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวที่เรียกว่าพระพรหม หรือ ปรมาตมัน นั้นเชื่อกันว่าอาจจะเป็นการปรับความเชื่อของตนให้เข้ากับศาสนาดั้งเดิมของชาวมิลักขะ      พระเวทซึ่งเป็นคัมภีร์สำคัญของศาสนาพราหมณ์ในระยะหลังๆก็ได้มีคำสอนเรื่องพระเจ้าองค์เดียวตามเข้ามา  

ก่อนคริสตศักราช 586 ปี  ราชาแห่ง ฆานเดียนได้ยกทัพเข้าทำลายกรุงเยรูซาเล็ม    และจับเอาชาว ยิวไปเป็นทาสในกรุงบาบิโลน(อยู่ในประเทศอิรัค)          ศาสดาพยากรณ์ชื่อ อาซียะห์ได้ช่วยกอบกู้อิสรภาพของชาวยิวขึ้นมาอีกโดยย้ำสอนลัทธิพระเจ้าองค์เดียว       ก่อนหน้านี้หลายร้อยปีโมเสสได้ใช้ศาสนาในทำนองนี้รวบรวมชาวยิวที่ถูกกวาดต้อนไปเป็นทาสหนีออกจาอียิปต์ได้สำเร็จเช่นกัน    ยังมีอีกหลายครั้งหลายหนที่ศาสนาเก่าได้สูญเสียความชอบธรรมไปโดยที่พวกนักบวชละเว้นไม่ปฏิบัติตนตามคำสอนที่แท้จริง  

ประกอบกับบ้านเมืองเกิดความระส่ำระสาย  ชนชั้นสูงใช้ชีวิตแบบโอ่อ่าฟุ่มเฟือยท่ามกลางความทุกข์ยากของประชาชน    มีการข่มเหงกันทางการเมืองและการนับถือศาสนา      ยุคสมัยเช่นนี้จึงเป็นกลียุค   และในจุดที่วิกฤตสุดนี้มักจะมีบรมศาสดาเกิดขึ้นมาแก้ไข    เป็นต้นว่าพระเยซูคริสต์ทำให้ศาสนาของพระเจ้าองค์เดียวบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นและได้ชี้ให้เห็นถึงต้นเหตุแห่งความเสื่อมศีลธรรม   พระศาสดามูฮัมหมัดได้รื้อฟื้นศาสนาเก่าขึ้นมาโดยทำการต่อต้านชนเผ่ากุเรชที่รักษาวิหารกะบะฮ์ ที่ถอยหลังเข้าคลองไปนับถือศาสนาพระเจ้าหลายองค์    โซโรเอสเตอร์ในอิหร่าน  พระพุทธเจ้าในอินเดีย  ล้วนสอนธรรมอย่างใหม่ในกลียุคทั้งสิ้น    แม้แต่ศาสนาคริสต์นิกายใหม่ โปรแตสแตนท์ก็เกิดจากการถอยหลังเข้าคลองของวงการศาสนานิกายคาธอลิคบางแห่ง   ตกลง....เราได้หลักวิทยาศาสตร์สังคมัว่า ศาสนาใหม่ได้เกิดขึ้นในขณะที่สังคมเกิดยุคเข็ญ   และต้นเหตุสำคัญก็คือการกระทำของมนุษย์ต่อมนุษย์นั่นเอง

จบ

Tuesday, August 18, 2015

มองศาสนาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์

มองศาสนาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์  

หมายเหตุ:  บทความนี้คัดมาจากบทที่ 1 ของหนังสือเรื่อง “พุทธปรัชญามองจากทรรศนะทางวิทยาศาสตร์”  เขียนโดย  อาจารย์ สมัคร บุราวาศ   พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2496  เราเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชาชนผู้รักและแสวงหาสัจธรรม หรือผู้สนใจทั่วไปในการทำความเข้าใจศาสนาในแง่มุมที่เป็น “วิทยาศาสตร์สังคม”   นอกเหนือไปจากความเข้าใจแบบเดิม    ที่เนื้อหาถูกดัดแปลงให้ผิดเพี้ยนไป      แล้วยัดเยียดให้แก่ประชาชนเชื่อถือปฏิบัติสืบกันมาอย่าง “ไม่เป็นวิทยาศาสตร์” จนกลายเป็นกระแสความเชื่อหลักในสังคมไทยทุกวันนี้  

อาจารย์ สมัคร  บุราวาศ  สอบได้ทุนเล่าเรียนหลวงไปเรียนทางด้านเหมืองแร่ที่ประเทศอังกฤษ  จบชั้นปริญญาตรีระดับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง  เป็นราชบัณฑิต เมื่ออายุ 27 ปี   ท่านได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ.2518  แต่ผลงานของท่านยังคงมีความทันสมัยอยู่จนกระทั่งบัดนี้       เราจึงขออนุญาตนำผลงานบางตอนของท่านในหนังสือเล่มดังกล่าวมาเผยแพร่เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ    และขอขอบคุณอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วยความเคารพ
                                         …………………………………..
เมื่อเรานึกถึงคำว่าศาสนานั้น  ก่อนอื่นเรามักจะวาดภาพของศาสดาเจ้าของศาสนาขึ้นก่อน    ครั้นแล้วต่อไปเราจะนึกถึงคำสอนของศาสดาพระองค์นั้น   เมื่อเป็นดังนี้ก็ได้ความอย่างคร่าวๆว่า  ศาสนาคือคำสอน ให้คนเรารู้จักแสดงความภักดีต่อเจ้าของศาสนาและเป็นบทเรียนให้เรารู้จักคำสอนของศาสดานั้นๆ

1. ศาสนวิจารณ์     แต่การนึกคิดเช่นนี้เป็นเพียงความนึกคิดของผู้เลื่อมใสศรัทธาเท่านั้น      ผู้ไม่มีศรัทธาหรือผู้ที่ต่างศาสนากับเรามักจะตั้งปัญหาถามต่างๆนานา    ซึ่งถ้าเราไม่ใช่นักประชาธิปไตยที่ดี หรือไม่มีเหตุผลพอเพียงที่จะตอบแล้วก็มักจะกล่าวคำเสียดสีออกมาว่า    พวกที่ซักเป็นพวก”เดียรถีย์”  เป็นพวกมิจฉาทิฎฐิ    เป็นพวกที่ไร้ศีลธรรม      ความจริงมีคนในโลกอยู่มากมายที่ยอมรับว่าตัวไม่นับถือศาสนาอะไรเลย     แต่ปรากฏว่าพวกนี้มีการศึกษาดีและมีศีลธรรมดี      เป็นดั่งนี้ก็เป็นสิ่งที่น่าคิดว่า ผู้ที่ปักใจเลื่อมใสศาสนาใดศาสนาหนึ่งอาจเป็นผู้งมงายก็ได้    ฉะนั้นเมื่อถูกต้อนด้วยเหตุผลจึงไม่อาจโต้เถียงสู้ฝ่ายค้านได้    มีนักการศาสนาอยู่เป็นจำนวนมากมายเหมือนกันซึ่งเมื่อตอบปัญหาที่ฝ่ายแย้งถามมาไม่ได้   ก็อ้างความลึกลับหรือความสูงส่งสุดวิสัยที่สามัญชนจะเข้าใจมาอ้าง      ทั้งนี้ทำให้ฝ่ายแย้งจำต้องเงียบไป   แต่การกระทำดังนี้ย่อมเป็นการเสี่ยงตัวอยู่        เพราะฝ่ายแย้งอาจหาว่านักการศาสนาผู้นั้นเอาความเท็จหรือสิ่งที่มิได้มีอยู่จริงมาอ้างก็อาจเป็นได้

การโต้แย้งของนักคิดในศาสนาอื่นและการโต้แย้งของผู้ที่ไร้ศาสนานี่เองได้แผ้วถางให้เกิดการศีกษาศาสนาตามวิถีทางแห่ง “วิทยาศาสตร์ “  ขึ้น  กล่าวคือนักการศาสนารุ่นใหม่ได้ละทิ้งการอ้างพระสูตร  อ้างความลึกลับ    หรืออ้างความสูงส่งที่สุดวิสัยสามัญชนจะเข้าใจนั้นเสีย   หากแต่ได้สนใจค้นทางหลักฐานทางประวัติศาสตร์และทำการเลือกสรรเอาคำสอนอันเป็นแก่นของศาสนานั้นๆออกมาแสดงรวมทั้งชี้ให้เห็นความเป็นไปของมนุษย์และสังคม    อันเป็นผลของการปฏิบัติไปตามคำสอนที่เป็นแก่นของศาสดาองค์นั้น   และที่เป็นผลของการได้ปฏิบัติตาม  หรือที่เป็นผลของการปฏิบัติตรงกันข้ามกับคำสอนที่เป็นแก่นนั้นด้วย

นี่หมายความว่า  เราจะศึกษาศาสนาด้วยความเลื่อมใสศรัทธาเฉยๆไม่ได้แล้ว   เพราะว่าคำสอนที่อยู่เหนือสิ่งอื่นใดในทุกๆศาสนาก็คือ  “จงแสวงหาความจริงและละทิ้งความเท็จ” คำสอนนานัปการในศาสนาหนึ่งๆอาจถูกบ้าง    ผิดบ้าง    ล้าสมัยบ้าง       เป็นคำสอนของพระอรรถกถาจารย์ชั้นหลังๆซึ่งหมายความว่าไม่ใช่คำสอนเดิมของเจ้าศาสนาบ้าง     เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เป็นหน้าที่ของนักคิดที่ต้องเลือก  สรรค์เอาคำสอนที่แท้ของศาสดาออกมาเผยแผ่ หรือชี้ให้เห็นความผิดถูกของมัน     และทำการวิจารณ์คำสอนนั้นๆ

2. ศาสนวิทยา   ตามนัยอย่างนี้..บรรดาความรู้ที่รวบรวมได้จึงไม่ใช่คำสอนของศาสนาเฉยๆ   หากแต่เป็นความรู้อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับที่มาของคำสอนนั้น     เกี่ยวกับคำสอนที่แท้กับความถูกผิดของคำสอนนั้นๆ   โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเป็นความรู้ทาง “วิทยาศาสตร์สังคม”ว่า ศาสนานั้นๆทำให้สังคมดีขึ้นเพียงไร?  หรือศาสนานั้นเพียงแต่ทำให้สังคมทรงตัวอยู่เช่นเดิมคำสอนเป็นหมัน   ในกรณีเช่นนี้เราอาจ จะอาจเอื้อมเกินเลยไปถึงกับเสนอคำสอนอันจะแก้ไขสังคมให้ดีอย่างจริงจังขึ้นมาบ้างก็   และเพราะฉะ นั้นวิทยาการเกี่ยวกับศาสนาในแนวกว้างๆอย่างนี้  ก็สมควรจะได้ชื่อว่า  ศาสนวิทยา

คำว่าศาสนวิทยานี้ปรากฏว่าไม่มีคำในภาษาอังกฤษที่ตรงกัน        จะมีใกล้เคียงก็แต่คำ Divinity หรือTheology  แต่สองคำนี้ได้ถูกตีความให้แคบไปโดนถือกันว่าเป็นความรู้เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า   ซ้ำร้ายคำว่า Theology ยังถูกแปลว่าเทวะวิทยาเสียอีก   ซึ่งทำให้เข้าใจว่ามันเป็นวิชาที่เกี่ยวกับเทพเจ้าต่างๆ  อันใกล้เคียงกับวิชา Mythology มาก   อย่างไรก็ตามศาสตราจารย์ john Baillieได้อ้างคำว่าTheologyนั้นเป็นคำของกรีก  อริสโตเติ้ล เป็นผู้เริ่มใช้คำนี้  และได้กำหนดให้คำนี้หมายถึงการศึกษาศาสนาตามแผนวิทยาศาสตร์

ฉะนั้นคำว่า Theology จึงตรงกับคำว่าวิทยาศาสตร์ของศาสนา  หรือเป็นวิทยาศาสตร์ซึ่งใช้ศึกษาด้านศาสนาโดยเฉพาะ   ตามนัยนี้ Theology กับศาสนวิทยาจึงมีความหมายตรงกัน   กล่าวคือศาสนวิทยาคือการใช้วิทยาศาสตร์เข้าจับและศึกษาศาสนาโดยเฉพาะนั่นเอง   และวิทยาศาสตร์ทางด้านนี้ย่อมรวมอยู่ในวิทยาศาสตร์สังคม(Social Science)  เพราะมันกล่าวถึงความเป็นไปของมนุษย์กับสังคมในแง่ดีชั่ว  สุขหรือทุกข์โดยเฉพาะ

3. จริยสังคมวิทยา   ในเวลาเดียวกันกับที่ศึกษาว่าศาสนาหนึ่งๆเกิดมาได้อย่างไร?  ได้ให้คำสอนอันเป็นแก่นอย่างไร  และคำสอนนั้นใช้ปรับปรุงความประพฤติของมนุษย์ได้อย่างไรนั้น    เราก็จะมองเห็นว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์สังคมของเราเองก็อาจให้คำตอบที่ศาสนาต่างๆมุ่งหมายได้  กล่าวคือ.วิทยา  ศาสตร์สังคมอาจบอกเราว่า  คนประพฤติชั่วเพราะอะไร  จะระงับได้อย่างไร   ความประพฤติชั่วจะก่อ ให้เกิดผลร้ายอย่างไร  ความทุกข์สุขของคนเราเกิดจากอะไร และจะทำให้คนส่วนมากที่สุดเป็นสุขได้อย่างไรนี่จะเป็นสาขาของสังคมวิทยาที่เราควรเรียกว่า     จริยธรรมสังคมวิทยา(Ehtical Sociology) หนังสือเล่มนี้เนื่องจากจะทำการบรรยายไปตามแนวศาสนวิทยา  ดังนั้นการแสดงแนวกว้างๆของศาสนวิทยาไว้ ณ ที่นี้จึงมีความจำเป็น

4. ประวัติศาสนา    ก่อนอื่นเราต้องยอมรับในฐานะที่เป็นข้อเท็จจริงอย่างแน่นอนว่าได้มีศาสนาในโลก   และได้มีสำนึกนอบน้อมต่อศาสนาใดศาสนาหนึ่งในจิตใจของคนเราอยู่แล้ว    เรารู้ว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากการอบรมสั่งสอนของนักการศาสนาที่สืบทอดกันมาจากศาสดาเจ้าของลัทธิ      เมื่อสาวไปได้อย่างนี้เราก็ต้องค้นดูในประวัติศาสตร์ว่า          ศาสดาเจ้าลัทธิองค์ใดองค์หนึ่งนั้นมีจริงหรือไม่   เนื่องจากประวัติศาสตร์เองก็อาจเป็นบันทึกที่ผิดพลาดได้       เราต้องตรวจสอบมันด้วยประวัติศาสตร์ที่ผู้อื่นบัน ทึกซึ่งถ้าจะให้ดีก็ต้องเป็นคนในสมัยเดียวกัน      แต่ที่ดีที่สุดก็ต้องทดสอบความจริงจากประวัติศาสตร์นั้นๆด้วยโบราณวัตถุที่ถูกอ้างอิง    ฉะนั้นการขุดค้นหาโบราณวัตถุจึงมีคุณค่าอย่างมากต่อศาสนวิทยา   ถ้าขาดข้อนี้เสียแล้ว   ศาสนวิทยาก็จะไร้หลักฐานอันสำคัญไปเลยทีเดียว

5. ภารกิจที่แท้ของศาสนา      ความจริงถ้าจะถามกันอย่างคาดคั้นว่า  มีศาสนาไปทำไทกัน  เราก็จะได้คำตอบอันเป็นที่สิ้นสุดว่า      มีศาสนาไว้สอนให้คนประพฤติดี จะได้สามัคคีและช่วยเหลือกัน  ทำให้สามารถอยู่ในโลกด้วยความพอใจและความสุข   ทำได้เพียงแค่นี้ก็นับว่าเป็นภารกิจอันยิ่งใหญ่แล้ว   เพราะแม้กระทั่งบัดนี้มนุษย์ก็ยังประพฤติชั่วกันอยู่และเลยเข้าเบียดเบียนกันเอง         เข้าทำลายความสามัคคีซึ่งกันและกันและแตกแยกกันเอง    ทำให้ไม่อาจร่วมมือช่วยเหลือกันร่วมทำโลกให้น่าอยู่กว่านี้ได้  มิหนำซ้ำยังก่อทุกข์ให้แก่กันเสียอีก

ดังนั้นศาสนวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ    จึงไม่ใคร่สนใจต่อปัญหานรก/สวรรค์  ชาติหน้า  อมฤตภาพ  หรือภาวะพรหม    ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนความดีของคนเป็นส่วนบุคคลหลัง จากที่เขาได้ตายไปแล้ว    ศาสนวิทยาย่อมดำเนินไปตามมติของขงจื๊อที่ว่า  “เรื่องของคนเป็นๆ  ยังไม่ค่อยรู้   จะไปสนใจอะไรกับเรื่องของคนที่ตายเล่า” 

6. ศาสนาในกลียุค    ความจริงเมื่อเราศึกษาประวัติศาสตร์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ดังกล่าวเราก็จะได้คำตอบที่ถามว่า  มีศาสนาไว้เพื่ออะไร?  ดังได้กล่าวมาแล้ว      เพราะไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดก็ตาม   ประวัติศาสตร์จะบอกเราว่ามันเกิดขึ้นมาในขณะที่มนุษย์กำลังระส่ำระสาย    เบียดเบียนแตกแยกกันอย่างรุนแรงทั้งสิ้น     สิ่งเหล่านี้เองได้ผลักดันให้ศาสดาคิดค้นหาหนทางแก้ไข  และหนทางดังกล่าวก็คือคำสอนของท่านนั้นเอง   การใช้คำว่า”ยุคทอง”กับเวลาที่ศาสนาถือกำเนิดจึงผิดถนัดเพราะศาสนาย่อมเกิดในกลียุคทั้งสิ้น    สังคมอินเดียสมัยพุทธกาลปั่นป่วนเพียงใดเราจะได้ทราบจากข้อความในบทต่อไป   ดังนั้นผู้ที่กล่าวเอาเองว่า”คนดีต้องเกิดในเวลาที่บ้านเมืองดี” จึงเป็นเรื่องที่ผิด  เพราะในพระ ไตรปิฎกเองก็มีคำระบุไว้ว่าพระพุทธเจ้าทรงเกิดในกลียุค     รายละเอียดในพุทธประวัติหลายชิ้นช่วยส่งเสริมความจริงในข้อนี้  

7. ศาสนาในเบื้องบุพกาล      อย่างไรก็ตามหากเราละทิ้งเสียไม่กล่าวถึงกำเนิดของศาสนาแต่เบื้องบุพกาลแล้ว   เราก็อาจจะเข้าใจคลุมเครือในเรื่องความเชื่อต่างๆที่มีในศาสนาปัจจุบัน      ทั้งนี้เพราะปรากฏว่าเราได้นำเอาศรัทธาในศาสนาบุพกาลเข้ามาปะปนกับศาสนาสมัยใหม่มากอยู่   ฉะนั้นถ้าเราไม่ทำการศึกษาสะสางเสียก่อน  เราจะเกิดความเข้าใจจริงในเรื่องของศาสนาไม่ได้เลย  ข้อความเกี่ยวกับศาสนาบุพกาลนั้น  เราจะหาอ่านได้จากตำราสังคมวิทยา  ปรัชญา  หรือประวัติศาสตร์ โลก  และเพื่อ ให้เข้าใจความประพฤติและความนึกคิดของมนุษย์ให้ดีขึ้นเราต้องอ่าน  The Origin of Families  ของ Engels   เพราะพฤติกรรมทางด้านครอบครัวแต่เบื้องบุพกาลของคนเราก็เป็นต้นเหตุผลักดันความคิดคนเราในปัจจุบันนี้อยู่มาก   จึงสามารถใช้อธิบายได้ว่าเหตุไรคนเราชอบมีชู้เป็นต้น

8. วิญญาณนิยม(Animism)และเทวนิยม(Mythology)  มนุษย์โบราณนั้นมักอยู่รวมกันเป็นฝูงๆและ   นักปราชญ์ทางสังคมวิทยาคาดว่าคงผสมพันธุ์กันแบบไม่จำกัดคู่ผัวตัวเมียคล้ายกับสัตว์    การหาเลี้ยงชีพเป็นไปในทำนอง “ช่วยกันทำ ช่วยกันกิน”   กล่าวคือรวมกันเป็นสังคมที่ไร้นาย  คนที่มีแรงกายทำงานได้ล้วนทำงานกันหมดและผลผลิตที่ได้มาก็จะแบ่งปันกันไปอย่างทั่วถึง   การทะเลาะเบาะแว้งก็เป็นการทะเลาะกันส่วนตัว   เป็นการชั่วคราวซึ่งไม่สร้างผลเสียหายเท่าไหร่นัก    เป็นอันจัดได้ว่าในหมู่มนุษย์เบื้องบุพกาลกลุ่มหนึ่งๆนี้มีการร่วมแรงร่วมใจกันอยู่แล้ว      ภัยระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์จึงมีน้อยมาก   และก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่มนุษย์จะต้องเพ่งเล็งถึงภัยธรรมชาติเป็นภัยร้ายแรงกว่าภัยอื่นๆ

ภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่น่าสะพรึงกลัวอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์โบราณ     เพราะมันเป็นเร่องใหญ่และนำอันตรายมาสู่มนุษย์หมดทุกคนในบริเวณใกล้เคียง    อันตรายจากโรคระบาดก็อาจยังไม่รุนแรงเท่ากับภัยธรรมชาติ    ซึ่งน่าจะมีไม่มากครั้ง     เพราะมนุษย์ไม่ได้อยู่แบบมั่วสุมกันเช่นในปัจจุบันนี้  อันตรายจากสัตว์ร้ายก็มีในวงแคบเฉพาะมนุษย์คนเดียวหรือสองสามคนเท่านั้น   แต่เมื่อมีพายุใหญ่พัดมาทำเอาต้นไม้ บ้านช่อง ที่อยู่อาศัยพังระเนระนาด   มีฝนตกหนักอย่างลืมหูลืมตาไม่ขึ้น  มีอสุนีฟาดเปรี้ยงได้ยินไปทั่วบริเวณ ภูเขาไฟระเบิด  แผ่นดินไหว  แผ่นดินถล่ม  ทำให้มหาชนต้องถูกหินหลอมละลายถมทับ  บ้านช่องพังทลาย ผู้คนตกลงไปตายในรอยแยกของผิวโลก   มีคลื่นใหญ่จากทะเลซัดเข้ามาพังหมู่บ้านชาวทะเล   ล่มเรือนับสิบๆลำ   เกิดน้ำท่วมใหญ่ทำให้บรรดาพืชผล สัตว์เลี้ยงและบ้านช่องเสียหายและมีคนจมน้ำตาย

ภัยครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลกก็คือน้ำท่วมโลกในยุคบุพกาล  อันปรากฏมีบันทึกไว้ในคัมภีร์ของศาสนายิวและคริสต์รวมทั้งตำหรับนารายณ์สิบปางด้วย     สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความสะเทือนใจอย่างรุนแรงแก่มนุษย์โบราณ  และเนื่องจากไม่เป็นที่พอใจของตนก็หาหนทางแก้ไข  ทางแก้ที่ถูกต้องคือแนวทางวิทยาศาสตร์   แต่ในขณะนั้นวิชานี้ยังไม่เกิด   ประชาชนจึงหาทางแก้ด้วยวิธีอื่น  วิธีแก้ก็คงเป็นวิธีที่เขาคุ้นเคยกันอยู่เป็นประจำนั่นเอง

พวกเขาได้สังเกตว่า..ในหมู่ของพวกเขาเองมีคนแข็งแรง  หน้าตาดุดัน  มีฝีมือในการรบพุ่งต่อยตี  คนผู้นี้อาจจะเป็นประมุขของชุมชน  เป็นหัวหน้านำในการรบพุงกับศัตรูซึ่งเป็นมนุษย์ด้วยกันกหรือสัตว์ร้าย  มนุษย์ผู้เก่งกาจอย่างนี้จุทำร้ายผู้คนเวลาเขาโกรธ   และก็ช่างเหมือนกันแท้ๆระหว่างความ   โกรธของคนและความกราดเกรี้ยวของธรรมชาติ   เขาอาจจะทำรุนแรงกับมนุษย์เหมือนที่ธรรมชาติทำจะเบิ่งตากว้างด้วยความอาฆาตมาดร้ายคล้ายตาของพยัคฆ์และจะลุกเป็นประกายวาววามราวแสงจากฟ้าแลบ เสียงของเขาจะคำรามออกมาดังก้องเทียบได้กับเสียงฟ้าร้องในขณะที่โกรธ  เสียงหายใจดังประหนึ่งพายุ   มนุษย์สังเกตได้ว่า  วิธีปฏิบัติต่อคนโกรธคือแสดงอาการยอมแพ้และแสดงความภักดีต่อเขาเสียพร้อมกับเปล่งคำว่า ”กลัวแล้ว” ออกมาด้วย   และนี่ก็เป็นวิธีการเดียวกับของเด็กที่ปฏิบัติต่อผู้ใหญ่ในขณะที่กำลังโกรธและกำลังจะทำโทษตัวนั่นเอง

การสำแดงอาการกิริยายอมแพ้ด้วยการก้มศีรษะให้และกระพุ่มมือหรือยกมือขึ้น   เพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่ได้ถืออาวุธเพื่อต่อสู้   หรือมิได้จ้องมองเพื่อเตรียมต่อต้านอยู่...  เช่นนี้ความจริงก็เป็นวิธีการปฏิบัติระหว่างคนต่อคน  เพื่อให้ฝ่ายที่แข็งแรงกว่าหยุดทำการมิดีมิร้ายต่อตน   และวิธีการเช่นนี้ถูก”ฉายไปสู่ฟ้า” จึงได้กลายเป็นวิธีการทางศาสนาแต่เบื้องบุพกาลไป

9.ศาสนาแห่งความกลัว    ความตายของคนเราเป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่ทำให้เราสะดุ้งสะเทือนกันมาก    และเพราะความตายนี่เองเราจึงได้ปัญหาศาสนาเพิ่มขึ้นมาอีก    เป็นสิ่งที่แน่นอนว่าคนเราส่วนหนึ่งไม่อยากตายยิ่งเป็นหนุ่มสาวในท่ากลางของความสุขยิ่งเกลียดชังความตายมากขึ้น    อย่าง ไรก็ตาม..ผู้ที่ไม่รังเกียจความตายก็มี...เขาคือเหล่าผู้ตกอยู่ในความทุกข์      พวกนี้มีความคิดอยู่เพียงว่า “ตายเสียก็ดีจะได้พ้นความทุกข์”     ส่วนผู้ที่มีความสุขอยู่ในโลกนั้นย่อมคิดไปในทางที่ว่า “ตายแล้วก็หมดความสุข  ทำอย่างไรเล่าจึงจะไม่ตาย  จึงจะมีชีวิตอยู่ชั่วนิรันดร์

ความพยายามที่จะอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติให้เข้าได้กับความเข้าใจของมนุษย์ดึกดำบรรพ์   ให้เข้ากันได้กับความไม่อยากตาย  ทำให้มนุษย์โบราณตั้งทฤษฎีคงกระพันชาตรีของวิญญาณของมนุษย์ขึ้นมา     แต่หาใช่เป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ไม่เพราะไม่มีทางพิสูจน์ให้เห็นเป็นจริงได้   มนุษย์โบ ราณซึ่งอ่อนในเหตุผลทางวิทยาศาสตร์   หากแต่ได้ยึดหลักตรรกะวิทยาแบบฉบับ(Formal Logic)ที่ว่า “มีผลต้องมีเหตุ”  และได้ทำการอนุมานอย่างผิดๆจากผลสาวไปหาเหตุว่า   มนุษย์ผู้เก่งกล้าที่ตายไปนี้เองได้ไปเป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่  และเข้าบัญชาอยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและปรากฏการณ์ ที่น่ากลัวอื่นๆ   เป็นการสำแดงความโกรธ  เป็นการขู่ขวัญจะทำร้ายผู้คนด้วยภัยธรรมชาติ   ดังนั้นวิธีแก้ก็จะเป็นวิธีเดียวกันกับที่เราเคยปฏิบัติต่อผู้ยิ่งใหญ่ในโลกที่กำลังโกรธนั่นอง   กล่าวคือแสดงความกลัวเกรงและนอบน้อมยอมแพ้แต่โดยดี   ฉะนั้นศาสนาของคนโบราณจึงเป็นศาสนาของการแสดงความภักดีด้วยความเคารพยำเกรงต่อเทพเจ้า   ผู้ซึ่งมักจะถูกวาดภาพให้มีหน้าตาดุร้าย

แม้ศาสนาของคนในปัจจุบันนี้ก็ยังไม่หลุดพ้นจากพิธีการและประติมากรรมดังกล่าว    ยังมีชนชาติในที่ต่างๆในอัฟริกา เอเชีย อเมริกา ในหมู่เกาะทะเลใต้ ฯลฯ ยังทำการบูชาเทพเจ้าผู้ดุร้ายกันอยู่    ต้นเหตุของปฏิมากรรมอย่างนี้ก็อยู่ที่การอยากได้ผลประโยชน์ในการที่จะให้เทพเจ้าผู้ถูกคิดว่าบัญชาอยู่เบื้อง หลังเหตุการณ์ทางธรรมชาตินั้น ระงับการกระทำอันน่ากลัวของท่านเสีย   นี่ก็ไม่ผิดอะไรกับการที่เด็กร้องว่า “กลัวแล้ว” และประนมมือไหว้ผู้ใหญ่ที่กำลังลงโทษตน     หรือไม่ผิดอะไรกับคนที่ไม่มีอำนาจวาสนาแสดงความเคารพยำเกรงต่อผู้ยิ่งใหญ่เพื่อเอาตัวรอดนั่นเอง

ศาสนาแห่งความกลัวนี้แม้กำลังจะสูญหายไปจากโลกก็ตาม  แต่ก็ยังแฝงอยู่ในขนบประเพณี  ธรรม จริยา    และมารยาทของคนในโลกอยู่   ทุกวันนี้ผู้คนยังแสดงความภักดีต่อผู้ที่เหนือกว่าด้วยความยำเกรง    ซึ่งก็แปลงร่างมาจากความกลัวนั่นเอง ซึ่งสืบเนื่องมาจากลัทธิวิญญาณนิยมที่เป็นศาสนายุคแรกที่สุดของโลก   และโปรดอย่าลืมเป็นอันขาดว่าแม้แต่ท่านและข้าพเจ้าในขณะนี้ยังตัดศาสนานี้ออกไปขากจิตใจไม่ขาดสิ้น   เราเพียงแต่ปล่อยให้มันสำแดงผลออกมาในรูปอื่นเท่านั้นเอง

10. ศาสนาแห่งความสำนึกคุณ   ภัยอันรุนแรงของธรรมชาติได้ทำให้มนุษย์รู้จักคิดว่า  ความสวัสดีและความไม่สวัสดีของตนนั้นมีต้นเหตุมาจากธรรมชาติ  ประกอบกับมนุษย์ได้มีความคุ้นเคยกับความสำนึกคุณซึ่งตนเองมีต่อมนุษย์ด้วยกัน   เช่นกับหัวหน้าครอบครัว  หรือพ่อเมือง หรือคนอื่นดอยู่  แล้วจึงได้เกิดความคิดใหม่ในศาสนาขึ้น  ความสำนึกคุณนี้หาใช่สิ่งดั้งเดิมที่นักปรัชญาชาวเยอรมัน  อิมมา นูเอล คานท์ (Immanuel Kant) ได้กล่าวอ้างว่ามีอยู่ได้เองโดยไร้ต้นเหตุไม่    แต่เรารู้แน่ว่ามันได้เกิดมีขึ้นเมื่อเราได้รับประโยชน์จากผู้อื่นแต่เพียงฝ่ายเดียว     หรือมิฉะนั้นก็เกิดมีขึ้นเพราะเราถือว่า  สิ่งที่เรารับจากผู้อื่นมีคุณค่ามากกว่าการรับใช้ของเรา  เป็นสิ่งที่แน่นอนว่า   การสำนึกคุณนี้เป็นความรู้สึกในธรรมประเภทที่เกิดแรกสุดของมนุษย์  และต้นกำเนิดของมันย่อมอยู่ที่ความรักระหว่างมารดากับบุตรและระหว่างสามีภรรยาเป็นปฐม

เด็กๆในฐานะที่ยังเลี้ยงตัวเองไม่ได้นั้นย่อมต้องงอนง้อขออาหารจากและสิ่งอื่นๆจากบิดามารดา โดย  เฉพาะอย่างยิ่งจากมารดา    ทั้งนี้เพราะปราชญ์ทางวิทยาศาสตร์แห่งครอิบครัวได้ชี้ว่า  ในชั้นแรกนั้นมนุษย์มีการสืบพันธ์กันอย่างสำส่อนและภายหลังได้ก้าวหน้าไปสู่การแต่งงานหมู่นั้น    เด็กย่อมไม่รู้ว่าใครเป็นบิดาเพราะมีหลายคนด้วยกันแต่เด็กจะรู้ว่าใครเป็นมารดาเพราะตนเกิดมาจากนั้น   ในระยะนี้ของระบอบสังคมยังเป็นชุมชนบุพกาล       คำว่าแม่ ย่อมเป็นคำขวัญ-เป็นสิ่งที่ถือกันว่าเป็นผู้ให้กำเนิดดังนั้นจึงถูกนำไปใช้กับสิ่งต่างๆแม้ที่เป็นธรรมชาติ   ความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกจึงเป็นศีลธรรมบุพกาล   ซึ่งต่อมาได้พัฒนาไปเป็นศีลธรรมที่มีความสลับซับซ้อนของบรมศาสดา

แท้จริงแล้วศาสนาแห่งความกลัวดังที่กลฃ่าวมาแล้วนั้นหาใช่เป็นเรื่องของศีลธรรมไม่  หากแต่เป็นการยอมรับความยิ่งใหญ่   ยอมกลัว   ยอมปฏิบัติตาม    หรืออีกนัยหนึ่งก็เป็นสิ่งที่คล้ายกับการเมืองนั่นเอง   ศาสนาแห่งศีลธรรมที่แท้ต้องนับว่าเกิดขึ้นในยุค”แม่”นี้เอง     ศีลธรรมอันเกิดจากระบบแม่กับลูกนี้คืออะไรเล่า?  แต่ทว่ามันคือความรักนั่นเองเป็นความรักระหว่างแม่หนึ่งกับลูกหนึ่งเท่านั้น     แม้ในขณะ นั้นความรักระหว่างหญิงชายยังมิได้เป็นความรักระหว่างหนึ่งต่อหนึ่งเลยเพราะเป็นความรักแบบสำส่อน    ความรักระหว่างมารดากับบุตรนั้นเป็นสิ่งมีจริงและยังพิสูจน์ให้เห็นได้อยู่ในปัจจุบันนี้  และได้พัฒนาไปเป็นความรักหนึ่งต่อหนึ่งของคนหนุ่มสาวในระบบผัวเดียวเมียเดียว   และก็ได้พัฒนาไปเป็นความรักที่สูงส่งอื่นๆในชั้นหลัง    เช่นความรักต่อผู้ยิ่งใหญ่  ในพระผู้เป็นเจ้า  ในชาติของตนและในชาติที่มีอุปการคุณต่อตนเป็นต้น

ดังนั้นเราจึงไม่ต้องไปค้นหาหลักศีลธรรมเบื้องต้นจากที่อื่นใดอีก   ไม่ต้องไปค้นหาด้วยการ”นั่งเพ่ง”  หรือนั่งอ้อนวอนเทพเจ้าอื่นใดอันไม่แน่ว่าจะมีอยู่จริง   และไม่ต้องไปค้นคว้าครุนคิดในปรัชญาชั้นสูงที่ซับซ้อน   แล้วนำมาอธิบายว่า  ศีลธรรมคืออะไร? ควรเป็นอย่างไร?    เพราะว่าด้วยการสังเกตุจากสิ่งที่คิดว่าต่ำๆนี้เอง    เราอาจจะได้รับความสว่างอย่างเจิดจ้าโดยไม่ต้องเสี่ยงกับการอนุมานที่ผิด  หรือกล่าวความเท็จทางปรัชญาให้เป็นที่เสียหาย

ความรักและความสำนึกบุญคุณซึ่งบุตรมีต่อมารดา   และเนื่องมาจากสำนึกอันนี้ย่อมไม่หายไปเมื่อยามที่เขาเตืบโตเป็นผู้ใหญ่   เขาย่อมนำเอาความรักและความสำนึกในบุญคุณนี้ไปใช้กับสิ่งต่างๆให้กว้างขึ้นเป็นลำดับ   และในที่สุดความสำนึกธรรมอย่างนี้ก็จะถูกนำไปใช้หรือ”ฉายขึ้นฟ้า” อีก    เมื่อมนุษย์เริ่มสังเกตุว่าธรรมชาติที่เป็นคุณกับตนก็มี  คือมีเหมือนในยามเด็กที่มารดามีคุณกับตนฉะนั้น     ในยุคแห่งลัทธิ ”วิญญาณนิยม” เช่นนี้  จึงคิดกันว่ามีเทพเจ้าผู้อารี  หน้าตายิ้มแย้มสวยงาม  มีฤทธิ้เดชอำ นาจบัญชาอยู่เบื้องหลังธรรมชาติที่เป็นคุณเหล่านั้น    มนุษย์ซึ่งได้รับประโยชน์จากธรรมชาติที่เป็นคุณเหล่าจึงเกิดความสำนำในบุญคุณขึ้น        และก็เหมือนกับการที่เราทำการเคารพกล่าวคำขอบคุณต่อ มนุษย์ผู้มีบุญคุณต่อเรา   เราก็ทำการวาดภาพ  ปั้น  หรือหล่อรูปเทพเจ้าเหล่านั้นขึ้นไว้ทำการเคารพบูชาและสวดมนต์กล่าวคำขอบคุณ

แต่ต่อมาภายหลังเมื่อธรรมชาติไม่อำนวยผลขึ้น  เราพากันคิดว่าเทพเจ้าไม่โปรดเพราะเราแสดงความภักดีไม่พอ     เลยต้องทำการบูชาบวงสรวงให้หนักเข้าละแล้วระบบการทำประติมากรรมเพื่อขอผลประ โยชน์ก็ติดตามมา     นี่มิใช่เป็นการปฏิบัติที่อื่นไกลอะไรเลยหากเป็นวิธีเดียวกันกับที่เรา นิยม ยกยอ ภักดีกราบไหว้ผู้ยิ่งใหญ่ในโลกมนุษย์เพื่อขอผลประโยชน์  หรือเป็นวิธีการเดียวกันที่เด็กๆอ้อนวอนร้องขออาหารจากบิดามารดานั้นเอง    ครั้งก่อนมนุษย์เคยไหว้เทพเจ้าเพราะความเกรงกลัวมาครั้งหนึ่งแล้วและก็ได้ขอผลประโยชน์เพียงเล็กน้อยเพียงเพื่อมิให้ทำร้ายตนเท่านั้น       บัดนี้ศาสนาได้ถูกบิด เบือนด้วยความอยากได้ของมนุษย์ให้กลายเป็นศาสนาของผลประโยชน์ไป       

คำสวดมนต์อ้อนวอนซึ่งชั้น แรกเป็นการสรรเสริญเยินยอเทพเจ้าเฉยๆนั้น    ต่อมาได้มีการขอผลประ โยชน์ติดตามเข้ามาด้วย    และเพื่อสนองความประสงค์อย่างนี้จึงเกิด “ผู้รับจ้างเฝ้าศาลเจ้าหรือเทวา ลัย”  ขึ้น   เป็นอาชีพที่ผิดแผกไปจากอาชีพอื่นมากมาย  นับเป็นอาชีพแรกของการถอยห่างออกจากการหาอาหารด้วยการทำงาน  และมากระทำสิ่งที่เข้าใจว่าจะช่วยทำงานของมนุษย์ให้เบาบางลงและได้ผลมากขึ้น   เป็นการกำเนิดเริ่มแรกของปัญญาชน   ซึ่งอาศัยเวลาว่างจากการทำงานนั้น  คิดสร้าง ศาสนา  ปรัชญา  และวิชาวิทยาศาสตร์ขึ้น   ซึ่งวิทยาการอย่างหลังนี้ต่อมาได้ช่วยให้มนุษย์ทำงานเบาแรงลงละได้ผลจากงานมากขึ้นจริงๆ

ดังนั้น...เราต้องไม่ดูถูกนักการศาสนาว่าเป็น   ฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อวิทยาศาสตร์หรือเอารัดเอาเปรียบสังคม   เพราะว่านักการศาสนานั้นเอง ที่ได้ให้กำเนิดวิทยาการต่างๆแก่โลกในประวัติศาสตร์ระยะแรกๆ          แต่ต่อมาก็เป็นที่น่าเสียดายที่นักการศาสนาผู้ถอยหลังเข้าคลองได้เข้ามามีส่วนกีดกันความเจริญทางวิทยาศาสตร์ซึ่งครั้งหนึ่งที่พวกเขาได้เริ่มต้นก่อกำเนิดเอาไว้

ยุคสมัยแห่งเทพเจ้าผู้มีคุณนี้ดูจะดึกดำบรรพ์เอามากทีเดียว      เพราะตำหรับพระเวทของอินเดียนั้น  ปราชญ์ทางอินเดียศึกษากล่าวว่า มีอายุนานถึง 4000 – 5000    ปีก่อนคริสตกาลถือว่าเป็นบันทึกรุ่นแรกที่สุดของคำพูดของชนชาติอารยันเท่าที่เคยมีการบันทึกเอาไว้      ในพระเวทเราจะพบบทสวดเยินยอพระคุณของเทพเจ้าผู้มีคุณ  มี อินทร์  อัคนี  วรุณ  และโสมเป็นต้น   ส่วนหลักฐานการขอผล ประโยชน์ก็มีอยู่พร้อมมูลในพระเวทเหมือนกันแต่เป็นผลประโยชน์อย่างกว้างๆคือเป็นการขอปัญญาและความสว่าง      การขอผลประโยชน์แคบๆนั้นคงมรเฉพาะในหมู่ประชาชนเพราะเป็นที่แน่นอนว่านักการศาสนาจะอ้อนสอนขอผลประโยชน์ทางโลกไม่ได้  ส่วนนี้ของศาสนาที่คลาดเคลื่อนไปเพราะสามัญชนเอาความอยากได้ของตนไปพัวพันกับศาสนาแห่งการสำนึกคุณนั่นเอง   ได้ทำให้ประชาชนหลงไหลในศาสนา  โดยคิดว่าเทพเจ้าจะให้ผลประโยชน์ในชาตินี้ หรือชาติหน้า สมกับที่อ้อนวอน   ยิ่งมีนักการศาสนาจอมปลอมช่วยส่งเสริมด้วย   ประชาชนก็ยิ่งไปกันใหญ่ถึงกับไม่คิดอ่านทำอะไรกันที่เป็นความก้าวหน้าที่สามารถแก้ปัญหาของโลกได้จริงๆ    จึงต้องกล่าวว่าการขอผลประโยชน์ทางศาสนานี้เป็น “สุราเมรัยทางจิตใจ” เป็น ยาเสพย์ติดให้โทษที่แท้จริง

ต่อจากเทพเจ้าผู้มีคุณของอินเดียเราก็ได้พบกับเทพเจ้าของกรีกซึ่งมีจำนวนมากมายไม่แพ้อินเดียเลย    การภักดีต่อเทพเจ้าในศาสนา “แห่งความสำนึกบุญคุณ” นี้   ทำให้เกิดยุคศิลปกรรมขึ้น   ถาวรวัตถุและเทวรูปได้ถูกสร้างขึ้นมากมายดัวยความงดงามและความมีสง่าราศี   แรงงานมนุษย์ได้ถูกใช้ไปในการ  ประกอบกิจการอันเป็นศิลปอย่างนี้มากมายทีเดียว         ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่านี่เป็นสาเหตุหนึ่งของความอดอยากขาดแคลนของมนุษย์ในสมัยนั้น    เทพเจ้าในยุคนี้ปรากฏว่ามีชนิดที่เป็นผู้พิทักษ์อยุ่ด้วยซึ่งมีทั้ง ความดี   พลังอำนาจ  ฤทธิ์เดช และความเป็นอมตะ    นี่แสดงว่าโลกในขณะนั้นย่อมมีนักรบผู้แกว่นกล้าหรือขุนศึกที่เป็นผู้นำแล้ว       และความสำนึกคุณจากการที่ขุนศึกเป็นผู้ปกปักรักษาตนให้ปลอดภัยจากข้าศึกนั่นเองได้ทำให้มนุษย์สร้างเทพเจ้าผู้มีหน้าที่พิทักษ์โลกขึ้นเพื่อเป็นการสอดคล้องกับยุคสมัยแห่งผู้ยิ่งใหญ่ทางการรบพุ่ง    สิ่งนี้ยังแสดงให้เราได้เห็นอีกว่ามนุษย์กับมนุษย์ได้ทำการรบกันแล้ว     แรกสุดมนุษย์มีแต่ภัยจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว   ขณะนี้กลับมีภัยจากมนุษย์ด้วยกันเองเพิ่มขึ้นอีก    ภัยจากมนุษย์นี่เองได้ทำให้ทัศนะทางศาสนาเปลี่ยนไป...

โปรดติดตามตอนจบต่อไป